วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยอยุธยา

ประวัติศาสตร์การปกครองสมัยอยุธยาสมัยอยุธยา


กรุงศรีอยุธยาก่อกำเนิดขึ้นเป็น ราชธานีในปี พ.ศ.1893 แต่มีข้อถกเถียงกันมากว่า การถือกำเนิดของกรุง ศรีอยุธยานั้น มิได้เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วนเสียทีเดียว มีหลักฐานว่าก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างเมืองขึ้นที่ตำบลหนอง โสน บริเวณนี้เคยมีผู้คนอาศัยมาก่อนแล้ว วัดสำคัญอย่างวัดมเหยงค์ วัดอ โยธยา และวัดใหญ่ชัยมงคล ล้วนเป็นวัดเก่าที่มีมาก่อนสร้างกรุงศรี อยุธยาทั้งสิ้น โดยเฉพาะที่วัดพนัญเชิง วัดที่ประดิษฐาน หลวงพ่อโต พระ พุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่แบบอู่ทอง พงศาวดารเก่าระบุว่า สร้างขึ้นก่อน การสร้างพระนครศรีอยุธยาถึง 26 ปี วัดเหล่านี้ ตั้งอยู่ตามแนวฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก นอก เกาะเมืองอยุธยาที่มีการขุดพบคูเมืองเก่าด้วย ทำให้เชื่อกันว่าบริเวณนี้น่า จะเป็นเมืองเก่าที่มีชื่ออยู่ในศิลาจารึกกรุงสุโขทัยว่า อโยธยาศรีรามเทพ นคร อโยธยาศรีรามเทพนคร ปรากฏชื่อเป็นเมืองแฝดละโว้อโยธยา มาตั้งแต่ช่วงราวปี พ.ศ.1700 เป็นต้นมา ครั้นก่อนปี พ.ศ.1900 พระเจ้าอู่ ทองซึ่งครองเมืองอโยธยาอยู่ก็ทรงอภิเษกสมรสกับพระราชธิดาของ กษัตริย์ทางฝ่ายสุพรรณภูมิ ซึ่งครองความเป็นใหญ่อยู่อีกฟากหนึ่งของแม่ น้ำเจ้าพระยา อโยธยาและสุพรรณภูมิจึงรวมตัวกันขึ้น โดยอาศัยความ สัมพันธ์ทางเครือญาติ ครั้นเมื่อเกิดโรคระบาด พระเจ้าอู่ทองจึงอพยพผู้คนจากเมืองอ โยธยาเดิม ข้ามแม่น้ำป่าสักมาตั้งเมืองใหม่ที่ตำบลหนองโสน หรือที่รู้จัก กันว่า บึงพระราม ในปัจจุบัน กรุงศรีอยุธยาจึงก่อเกิดเป็นราชธานีขึ้นใน ปี พ.ศ.1893 พระเจ้าอู่ทองเสด็จฯ เสวยราชย์เป็นสมเด็จพระรามาธิบดี ที่ 1 ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของพระองค์นับได้ว่าเป็นยุคของการก่อร่างสร้างเมือง และวางรูปแบบการปกครองขึ้นมาใหม่ ทรงแบ่งการบริหารราชการออก เป็น 4 กรม ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง และ นา หรือที่เรียกกันว่า จตุสดมภ์ ระบบที่ทรงวางไว้แต่แรกเริ่มนี้ ปรากฏว่าได้สืบทอดใช้กันมา ตลอด 400 กว่าปีของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ครองราชย์อยู่ได้เพียง 19 ปี ก็เสด็จ สวรรคต หลังจากรัชสมัยของพระองค์ ผู้ได้สร้างราชธานีแห่งนี้ขึ้นจาก ความสัมพันธ์ของสองแว่นแคว้น กรุงศรีอยุธยาได้กลายเป็นเวทีแห่งการ แก่งแย่งชิงอำนาจระหว่างสองราชวงศ์คือ ละโว้-อโยธยา และราชวงศ์ สุพรรณภูมิ สมเด็จพระราเมศวร โอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ขึ้นครอง ราชย์ต่อจากพระราชบิดาได้ไม่ทันไร ขุนหลวงพะงั่ว จากราชวงศ์สุพรรณ ภูมิ ผู้มีศักดิ์เป็นอาก็แย่งชิงอำนาจได้สำเร็จ ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระ บรมราชาธิราช เมื่อสิ้นรัชกาลของสมเด็จพระบรมราชาธิราช สมเด็จพระ ราเมศวรก็กลับมาชิงราชสมบัติกลับคืน มีการแย่งชิงอำนาจผลัดกันขึ้นเป็นใหญ่ระหว่างสองราชวงศ์นี้อยู่ ถึง 40 ปี จนสมเด็จพระนครอินทร์ ซึ่งเป็นใหญ่อยู่ทางสุพรรณภูมิและ สัมพันธ์แน่นแฟ้นอยู่กับสุโขทัย แย่งชิงอำนาจกลับคืนมาได้สำเร็จ พระ องค์สามารถรวมทั้งสองฝ่ายให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อย่างแท้จริง ในช่วงของการแก่งแย่งอำนาจกันเองนั้น กรุงศรีอยุธยาก็ พยายามแผ่อำนาจไปตีแดนเขมรอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งปี พ.ศ.1974 หลัง สถาปนากรุงศรีอยุธยาได้แล้วราว 80 ปี สมเด็จเจ้าสามพระองค์ พระ โอรสของสมเด็จพระนครอินทร์ ก็ตีเขมรได้สำเร็จ เขมรสูญเสียอำนาจจน ต้องย้ายเมืองหลวงจากเมืองพระนครไปอยู่เมืองละแวกและพนมเปญในที่ สุด ผลของชัยชนะครั้งนี้ทำให้มีการกวาดต้อนเชลยศึกกลับมา จำนวนมาก และทำให้อิทธิพลของเขมรในอยุธยาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็น เรื่องปกติที่ผู้ชนะมักรับเอาวัฒนธรรมของผู้แพ้มาใช้ กรุงศรีอยุธยาหลังสถาปนามาได้กว่าครึ่งศตวรรษก็เริ่มเป็นศูนย์ กลางของราชอาณาจักรอย่างแท้จริง มีอาณาเขตอันกว้างขวางด้วยการ ผนวกเอาสุโขทัยและสุพรรณภูมิเข้าไว้ มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ โดยเฉพาะกับจีน และวัดวาอารามต่าง ๆ ได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่จน งดงาม ยุครุ่งโรจน์ก่อนสงคราม : หลังรัชกาลสมเด็จเจ้าสามพระยา แล้ว กรุงศรีอยุธยาก็เข้าสู่ยุคสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งเป็นช่วง เวลาที่อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างขวาง มีการติดต่อค้าขาย กับบ้านเมืองภายนอก รวมทั้งมีการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองขึ้น พระองค์ทรงยกเลิกการปกครองที่กระจายอำนาจให้เมืองลูก หลวงปกครองอย่างเป็นอิสระ มาเป็นการรวบอำนาจไว้ที่พระมหากษัตริย์ แล้วทรงแบ่งเมืองต่าง ๆ รอบนอกออกเป็น หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก ซึ่งเมืองเหล่านี้ดูแลโดยขุนนางที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง นอกจากนี้ก็ยังได้ทรงสร้างระบบศักดินาขึ้น อันเป็นการให้ กรรมสิทธิ์ถือที่นาได้มากน้อยตามยศ พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ที่จะ เพิ่ม หรือ ลด ศักดินาแก่ใครก็ได้ และหากใครทำผิดก็ต้องถูกปรับไหมตาม ศักดินานั้น ในเวลานั้นเอง กรุงศรีอยุธยาที่เจริญมาได้ถึงร้อยปีก็กลายเป็น เมืองที่งดงามและมีระเบียบแบบแผน วัดต่าง ๆ ที่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่าง วิจิตรบรรจงเกิดขึ้นนับร้อย พระราชวังใหม่ได้ก่อสร้างขึ้นอย่างใหญ่โตก ว้างขวาง ส่วนที่เป็นพระราชวังไม้เดิมได้กลายเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัด คู่เมืองที่สำคัญ กรุงศรีอยุธยากำลังจะเติบโตเป็นนครแห่งพ่อค้าวาณิชอันรุ่งเรือง เพราะเส้นทางคมนาคมอันสะดวกที่เรือสินค้าน้อยใหญ่จะเข้ามาจอด เทียบท่าได้ แต่พร้อม ๆ กับความรุ่งเรืองและความเปลี่ยนแปลง สงครามก็ เกิดขึ้น



ช่วงเวลานั้น ล้านนา ที่มีพระมหากษัตริย์คือราชวงศ์เม็งราย ครองสืบต่อกันมา กำลังเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาเป็นคู่แข่งสำคัญของกรุงศรี อยุธยา พระเจ้าติโลกราชซึ่งได้ขยายอาณาเขตลงมาจนได้เมืองแพร่และ น่านก็ทรงดำริที่จะขยายอาณาเขตลงมาอีก เวลานั้นเจ้านายทางแคว้น สุโขทัยที่ถูกลดอำนาจด้วยการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตร โลกนาถเกิดความไม่พอใจอยุธยา จึงได้ชักนำให้พระเจ้าติโลกราชยกทัพ มายึดเมืองศรีสัชนาลัยซึ่งอยู่ในอำนาจของกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถต้องเสด็จกลับไปประทับอยู่ที่เมือง สระหลวงพรือพิษณุโลก เพื่อทำสงครามกับเชียงใหม่ วงครามยืดเยื้อยาว นานอยู่ถึง 7 ปี ในที่สุดอยุธยาก็ยึดเมืองศรีสัชนาลัยกลับคืนมาได้ตลอดรัชกาลอันยาวนานของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 กรุงศรีอยุธยาได้เจริญอย่างต่อเนื่องอยู่นานถึง 81 ปี การค้ากับต่างประเทศก็เจริญก้าวหน้าไปอย่างกว้างขวาง วัฒน ธรรมก็เฝื่องฟูทั้งทางศาสนาและประเพณีต่าง ๆแต่หลังรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2การแย่งชิงอำนาจภายใน ก็ทำให้กรุงศรีอยุธยาอ่อนแอลง ขณะเดียวกันที่พม่ากลับเข้มแข็งขึ้น ความเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรได้ทำให้เกิด สงครามครั้งใหญ่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้สงครามไทยกับพม่า : ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ อันอาจจะเรียก ได้ว่ายุคแห่งความคับเข็ญยุ่งเหยิงนี้ เริ่มต้นด้วยการมาถึงของชาวตะวัน ตกพร้อม ๆ กับการรุกรานจากพม่าเมื่อวาสโก ตากามา ชาวโปรตุเกสเดินเรือผ่านแหลมกูดโฮปได้ สำเร็จในราว พ.ศ.2000 กองเรือของโปรตุเกสก็ทยอยกันมายังดินแดนฝั่ง ทวีปเอเชีย ในปี พ.ศ.2054 อัลฟองโซ เดอ อัลบูเควิก ชาวโปรตุเกสก็ยึด มะละกาได้สำเร็จ ส่งคณะฑูตของเขามายังสยาม คือ ดูอารต์ เฟอร์นันเดซ ซึ่งถือเป็นชาวตะวันตกคนแรกที่มาถึงแผ่นดินสยามชาวโปรตุเกสมาพร้อมกับวิทยาการสมัยใหม่ ความรู้เกี่ยวกับการ สร้างป้อมปราการ อาวุธปืน ทำให้สมัยต่อมาพระเจ้าไชยราชาธิราชก็ยก ทัพไปตีล้านนาได้สำเร็จกรุงศรีอยุธยาเป็นใหญ่ขึ้น ในขณะที่พม่าเองในยุคของ พระเจ้า ตะเบ็งชะเวตี้ ก็กำลังแผ่อิทธิพลลงมาจนยึดเมืองมอญที่หงสาวดีได้ สำเร็จ อยุธยากับพม่าก็เกิดการเผชิญหน้ากันขึ้น เมื่อพวกมอญจากเชียง กรานที่ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจพม่าหนีมาพึ่งฝั่งไทย พระเจ้าไชยราชาธิราช ยกกองทัพไปขับไล่พม่า ยึดเมืองเชียงกรานคืนมาได้สำเร็จ ความขัดแย้ง ระหว่างไทยกับพม่าก็เปิดฉากขึ้น


การปกครองแบบจตุสดมภ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานี้สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้ปรับปรุงระบอบการปกครองในส่วนกลางเสียใหม่เป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบอย่างของขอมโดยมีกษัตริย์เป็นผู้อำนวยการปกครอง การปกครองประกอบด้วยเสนาบดี 4 คนคือขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง ขุนนา พร้อมทั้งได้ตรากฎหมายลักษณะอาญาหลวงและกฏหมายลักษณะอาญาราษฎร เพื่อเป็นบรรทัดฐานในด้านยุติธรรม การบังคับบัญชาในส่วนกลางแบ่งออกเป็นขุนเมือง ทำหน้าที่บังคับกองตระเวนซ้าย ขวา และขุนแขวง อำเภอ กำนันในกรุงบังคับศาลพิจารณาความฉกรรจ์มหันตโทษ ซึ่งแบ่งเป็นแผนกว่าความนครบาลและคุมไพร่หลวงมหันตโทษ ทำหน้าที่ตะพุ่นหญ้าช้างขุนวัง ทำหน้าที่รักษาพระราชมนเฑียร และพระราชวังชั้นนอกชั้นในเป็นพนักงานจัดการพระราชพิธีทั้งปวงทั่วไป และบังคับบัญชาข้าราชการฝ่ายหน้า บรรดาข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งอยู่ในพระบรมมหาราชวังชั้นในและข้าราชการฝ่ายในทั่วไปมีอำนาจที่จะตั้งศาลชำระความซึ่งเกี่ยวข้องได้ ราชการในกรมวังนี้มีความละเอียดกว่าราชการในกรมเมืองต้องรู้วิธีปฏิบัติราชการ มีความจดจำดีมีความขยันหมั่นเพียรและต้องใช้ความรู้ความสามารถขุนคลัง ทำหน้าที่ในการบังคับบัญชาในเรื่องเกี่ยวข้องกับการเงิน ซึ่งจะเข้าในพระคลังและที่จะจ่ายราชการบังคับจัดการภาษีอากรขนอนตลาดทั้งปวงและบังคับศาลซึ่งชำระความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์ของหลวงทั้งปวงขุนนา มีหน้าที่ดูแลรักษานาหลวงเก็บค่าเช่าจากราษฎร เป็นพนักงานจัดซื้อข้าวขึ้นฉางหลวง เป็นพนักงานทำนาตัวอย่าง ชักจูงราษฎรให้ลงมือทำนาด้วยตนเองเป็นผู้ทำนุบำรุงชาวนาทั้งปวงไม่ให้เสียเวลาทำนา นอกจากนั้นยังมีอำนาจที่จะตั้งศาลพิพากษาความที่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องนาและโคกระบือ



สังคมไทยสมัยอยุธยาสภาพสังคมเป็นสังคมศักดินา เนื่องจากความต้องการกำลังคนหรือแรงงานเพราะแรงงานมีความสำคัญต่อความมั่นคงของอาณาจักร รัฐจึงต้องมีกำหนดกฎเกณฑ์ของสังคมเพื่อควบคุมแรงงานและกำลังคน อันเป็นผลให้เกิดสังคมศักดินาซึ่งเข้มแข็งมากในสมัยอยุธยาสังคมศักดินาหมายถึงระบบสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ซึ่งกำหนดสิทธิหน้าที่และฐานะของแต่ละบุคคลในสังคม จุดประสงค์ก็เพื่อควบคุมกำลังคนและแบ่งฐานะของบุคคลเป็นสำคัญ ผู้ควบคุมกำลังคนสูงสุด คือ พระมหากษัตริย์ รองลงมาได้แก่ ขุนนาง (ข้าราชการ) และผู้ถูกควบคุมคือ สามัญชนหรือไพร่ ระบบศักดินาได้รับการจัดระเบียบในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ โดยมีการตราพระราชกำหนดกฎหมายเกี่ยวกับศักดินาขึ้นใน พ.ศ. 1998 เรียกว่า “ พระไอยการตำแหน่งนายพลและนายทหารหัวเมือง“ สังคมไทยในอดีตมีการจัดระเบียบของคนในสังคมออกเป็น 2 ชนชั้นใหญ่ ๆ คือ ชนชั้นปกครองและชนชั้นใต้ปกครอง โดยมีศักดินาเป็นตัวกำหนดหน้าที่ในแต่ละชนชั้นวัฒนธรรมอยุธยาศูนย์กลางอยู่ที่อยุธยา ราชบุรี และเพชรบุรี ลักษณะศิลปะแบ่งได้ดังนี้- สถาปัตยกรรม- ประติมากรรม- จิตรกรรม- นาฏศิลป์- วรรณกรรม- ชนชั้นปกครอง- ชนชั้นใต้ปกครอง กรุงศรีอยุธยา เคยเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัยมาก่อน เมื่อสิ้นรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชอาณาจักรสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง ปรากฎว่าหัวเมืองมอญซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นได้ก่อการกบฎกรุงสุโขทัยนั้นไม่สามารถปราบปรามได้ พระเจ้าอู่ทองทรงเห็นว่ากรุงสุโขทัยอ่อนอำนาจลง จึงประกาศอิสรภาพและทำการเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียใหม่ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ด้วยการเปลี่ยนแปลงตามแบบขอม คือ แบบเทวสมมติ (Divine rights)


ลักษณะสำคัญของการปกครองระบบเทวสมมติ หรือเทวสิทธิ์นี้ มีข้อน่าสังเกตุอยู่ 3 ประการ คือ1. รัฐเกิดโดยพระเจ้าบงการ2. พระเจ้าทรงเป็นผู้แต่งตั้งผู้ปกครองรัฐ3. ผู้ปกครองรัฐมีความรับผิดชอบต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงผู้เดียวระบบเทวสิทธิ์นี้ ถือคติการปกครองมาจากขอมและฮินดูโดยแบ่งแยกผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้การปกครองออกจากกัน พระมหากษัตริย์ถูกยกย่องให้เป็นสมมุติเทพเช่นพระอิศวรหรือพระนารายณ์"การปกครองแบบเทวสิทธิ์ กระทำให้ชนชั้นปกครองกลายเป็นชนชั้นหนึ่งต่างหาก มีอภิสิทธิ์เสมือนเทพเจ้าตามคติของฮินดูราษฎรกลายเป็นผู้อยู่ใต้อำนาจและผู้ถูกปกครองอย่างแท้จริง สมบูรณาญาสิทธิราชถือกำเนิดมาจากระบบนี้และเป็นที่มาของลัทธิมูลนายกับบ่าวหรือทาส และระบบศักดินา"ลักษณะการปกครองสมัยโบราณนั้น มีเค้าเงื่อนปรากฏเป็นลักษณะการปกครอง 2 แบบ คือ แบบหนึ่งเป็นแบบขอมเข้ามาครอบครองถิ่นฐานประเทศอยู่เดิม ขอมมีการปกครองตามคติที่ได้มาจากอินเดียส่วนไทยปกครองอย่างแบบไทยเดิม ส่วนทางใต้ปกครองตามแบบขอมเพราะขอมยังมีอำนาจอยู่ในเมืองต่าง ๆ เช่น ละโว้และเมืองอื่น ทางใต้การปกครองของขอมและของไทยมีที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งคือถืออาญาสิทธิ์ของพระเจ้าแผ่นดินเป็นใหญ่ ต่างก็มีพระมหากษัตริย์ด้วยกันทั้งสองแบบแต่ของขอมนั้นถือลัทธิตามชาวอินเดีย คือสมมุติพระมหากษัตริย์เป็นพระโพธิสัตว์ พระอิศวรหรือพระนาราย์แบ่งภาคมาเลี้ยงโลกและอาศัยความเป็นเจ้าตำราการปกครองลักษณะการที่ขอมเข้าปกครองราษฎร จึงคล้ายกับนายปกครองบ่าว (Autocratic government) ส่วนการปกครองของไทยนั้น นับถือพระจ้าแผ่นดินเป็นบิดาของประชาชน วิธีการปกครองก็เอาลักษณะการปกครองของสกุลมาเป็นคติ และถือว่าบิดาเป็นผู้ปกครองครัวเรือน


วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยสุโขทัย


ยุคสมัยกรุงสุโขทัย

ในปี พ.ศ.๑๗๙๒-พ.ศ.๑๙๘๑ ราชอาณาจักรไทยได้สถาปนาขึ้นเป็นกรุงสุโขทัย สมัยสุโขทัยเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ คือ พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ "พ่อปกครองลูก" คือถือพระองค์องค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพ และใกล้ชิดกับราษฎร มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ราษฎร ราษฎรในฐานะบุตรก็มีหน้าที่ให้ความเคารพเชื่อฟังพ่อขุน





พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการปกครองต่างพระเนตร พระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์ อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระองค์ได้รวบรวมหัวเมืองน้อยเข้าไว้ในปกครองมากมาย ยากที่จะปกครองหัวเมืองต่างๆ ด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง การเมืองการปกครองต่างๆ ในสมัยนั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ

๑.การปกครองส่วนกลาง ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง เมืองหลวง คือสุโขทัยนั้นอยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวง ๔ ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครองได้แก่

(๑)ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)

(๒)ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)

(๓) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)

(๔) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)

๒.การปกครองหัวเมือง หัวเมือง หมายถึงเมืองที่อยู่นอกอาณาเขตเมืองลูกหลวง มี ๒ ลักษณะ คือ

(๑)หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลจากกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกของเมืองหลวงบางเมือง มีเจ้าเมืองเดิม หรือเชื้อสายของเจ้าเมืองเดิมปกครองบางเมือง พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงแต่งตั้ง เชื้อพระวงศ์หรือข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ไว้วางพระราชหฤทัยไปปกครอง บางครั้งเรียกหัวเมืองชั้นนอกว่า เมืองท้าวพระยา มหานคร

(๒)หัวเมืองประเทศราช เป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้อง
ขอ



ทำแบบทดสอบ หลังจากการอ่าน ค่า บ บ !!